ยาเมลาโทนินช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับ

ยาเมลาโทนิน ยาวิเศษช่วยปัญหาการนอนหลับที่ต้องอ่านฉลากก่อนใช้

เมื่อนึกถึงอาการหรือสภาวะนอนไม่หลับ นอนแล้วหลับ ๆ ตื่น ๆ หากให้นึกถึงวิธีการแก้ไข แต่ละคนก็คงมีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นนอนเร็วขึ้น การปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันในชีวิต ทว่าหนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหาการนอนไม่หลับที่เชื่อว่าใครหลายคนจะต้องนึกถึงกันแน่ ๆ ก็คือการทานยาช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นนั้นเอง ซึ่งยาตัวดังกล่าวที่เราจะกล่าวถึงกันในวันนี้คือ ยาเมลาโทนิน (Melatonin) แต่เจ้ายาตัวนี้คืออะไร ช่วยในการนอนหลับอย่างไร แล้วมีผลข้างเคียงไหม ? ตามมาดูกันดีกว่าคร้าบบ


เมลาโทนินคือ..

ยาเมลาโทนิน จริง ๆ แล้ว เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากสารซึ่งอยู่ในต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลาง กล่าวคือเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายของเราผลิตขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยในการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย หากพูดง่าย ๆ เจ้าเมลาโทนินก็คือยาช่วยให้นอนหลับซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เราทานเข้าไปแล้วจะช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น


ยาเมลาโทนิน ช่วยในการนอนหลับอย่างไร ?

ยาเมลาโทนิน

เจ้ายาตัวนี้ มีความพิเศษตรงที่มันสามารถเข้าไปช่วยปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาในร่างกายของเราได้ ซึ่งแม้ปกติเจ้าฮอร์โมนตัวนี้ร่างกายเราจะผลิตเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ในร่างกายของบางคนก็อาจจะผลิตน้อยจนเป็นเหตุทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ นอกจากนี้เมื่ออายุของเรามากขึ้น ร่างกายของเราก็จะผลิตฮฮร์โมนตัวนี้น้อยลงด้วย เป็นเหตุที่ทำไมคนสูงอายุมักจะมีการนอนหลับที่น้อยกว่าคนวัยหนุ่มหรือวัยทำงาน และยังมีปัญหาการนอนไม่หลับบ่อย ๆ อีกด้วย เจ้าตัวนี้สามารถเพิ่มฮอร์โฒนดังกล่าวให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้

ในขณะเดียวกันเจ้ายานี้ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยผู้ที่มีปัญหาเวลาเดินทางไปต่างประเทศแล้วร่างกายไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ทันทำให้เกิดอาการเหนื่อยและอ่อนล้า (Jet Lag) ได้อีกด้วย เพราะเจ้าอาการ Jet Lag ที่ว่า ก็เป็นผลมาจากสารเมลาโทนินในร่างกายของเราที่ลดลงนั้นเอง

เห็นแบบนี้แล้ว เจ้ายาตัวนี้ก็ดูจะเป็นยาวิเศษ ที่น่าใช้ใช่ไหมล่ะครับ ? แต่เดี๋ยวก่อนอย่าเพิ่งรีบคลิกสลับไปอ่านเฟซหรือเตรียมตัวออกไปซื้อตัวเมลาโทนิน เพราะเจ้ายาตัวนี้ มีผลข้างเคียงและข้อควรรู้ที่ต้องระวังก่อนที่จะรับประทานด้วยจ้า


ข้อควรระวังและข้อควรรู้

เจ้าเมลาโทนินมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นได้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ผลข้างเคียงต่าง ๆ มีดังนี้

  • อารมณ์เศร้า หดหู่
  • อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว
  • อาการปวดท้อง
  • อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง
  • อาการง่วงนอนในเวลากลางวัน
  • ความต้องการทางเพศลดลง

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การใช้เมลาโทนินยังส่งผลให้ตั้งครรภ์เป็นไปได้ยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นคุณผู้หญิงท่านไหนที่วางแผนจะตั้งครรภ์ก็ควรจะหลีกเลี่ยงยาตัวนี้ด้วยนะครับ สุดท้ายนี้เจ้าเมลาโทนินตัวนี้อาจส่งข้างเคียงรุนแรงได้หากรับประทานร่วมกับยาบางประเภท ซึ่งในจุดนี้ใครที่มีทานยาเป็นประจำ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้งนะครับ แต่ในภาพรวมยาที่ไม่ควรทานร่วมกับเมลาโทนินได้แก่ยาดังต่อไปนี้

  • วิตามินบี 12
  • ยารักษาโรคหัวใจและความดันโลหิต
  • ยาโรคกระเพาะ
  • ยาแก้ปวด
  • ยาคุมกำเนิด
  • แอสไพริน
  • ยาปฏิชีวนะ
  • อินซูลิน
  • ยารักษาหรือป้องกันเลือดอุดตัน

ยาไม่ใช่คำตอบถาวร

ที่นอนพ็อกเก็ตสปริง

จากข้อควรระวังและข้อควรรู้ที่กล่าวไป ก็น่าจะทำให้ทราบได้แล้วว่า แม้เมลาโทนินจะช่วยแก้ไขปัญหาการนอนไม่หลับให้กับเราได้ แต่ตัวยาก็ส่งผลข้างเคียงมากมาย จนทำให้สามารถพูดได้ว่า ยาตัวนี้ไม่ใช่คำตอบถาวรสำหรับเพื่อน ๆ ที่มีปัญหาในการนอนหลับ ในระยะสั้นถ้าจำเป็นต้องใช้ เช่น เดินทางไปต่างประเทศ มีประชุมหรือธุรกิจสำคัญ แต่เกิด Jet Lag ก็สามารถใช้ได้ หรือในกรณีที่อีกไม่กี่วันข้างหน้ามีสอบ นอนไม่หลับ ก็สามารถทานได้เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหานอนหลับอย่างถาวร เพื่อน ๆ ไม่ควรจะพึ่งตัวยา แต่จะต้องเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง เพื่อให้ร่างกายของเราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ นอนหลับได้อย่างเต็มอิ่มด้วยตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนอาหารที่เราทาน เปลี่ยนเวลาที่เราเข้านอนและตื่นนอน ไปจนถึงเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเครื่องนอน เตียงนอน หรือหมอนที่เราใช้หนุนนอน เป็นต้น

ทำไมที่นอน Morning Sleep ถึงมีส่วนช่วยให้การนอนหลับของคุณสบายขึ้น ? คลิกหาคำตอบ!!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า