กินยานอนหลับส่งผลดีและผลเสียอย่างไร

ไขข้อข้องใจ! การกินยานอนหลับส่งผลดีและผลเสียร่างกายอย่างไร

เชื่อว่า หลายคนคงไม่มีใครอยากให้ปัญหานอนไม่หลับส่งผลกระทบไปจนถึงขั้นต้องกินยานอนหลับ เพราะกว่าจะได้ยามาทานต้องไปหาหมอจนรู้สึกว่า วุ่นวาย (ให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ซื้อทานเองไม่ได้) แถมกลัวผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมา จนไม่กล้าที่จะรักษาและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตไปจนถึงเรื่องของสุขภาพอีก Morning Sleep จึงขอมาอธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจตรงกันว่า การกินยาให้นอนหลับ มีผลดี และผลเสียร่างกาย ยังไงบ้าง

\"การกินยานอนหลับ\"

ผลดีของการกินยานอนหลับ

การกินยาให้หลับที่อยู่ในการดูแลโดยแพทย์จะช่วยทำให้เกิดประโยชน์ที่ตรงจุดและไม่เกิดผลเสีย

1) ช่วยให้นอนง่ายหลับสนิทตลอดคืน

บางท่านอาจกำลังกังวลกับผลเสียร่างกายมากจนลืมไปว่า ผลดีและความสำคัญของการกินยาให้หลับ อยู่ที่ช่วยให้นอนได้ง่าย นอนไว หลับสนิทได้ตลอดคืน ซึ่งการนอนนี่ล่ะที่เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต ที่ช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูอย่างเต็มที่ สุขภาพกายและใจค่อยๆ ดีมากขึ้น เมื่อมีการปรับตัวไปในทางที่ดีคุณหมออาจเปลี่ยนตัวยาหรือแนะนำว่า ไม่ต้องกินยาให้นอนหลับอีกต่อไป

2) ไม่ต้องกระวนกระวายหรือเสียเวลาในการรอให้หลับ

คนที่เกิดอาการนอนไม่หลับ คือ คนที่เสียเวลาไปกับการนอนรอให้หลับ จนบางทีก็คิดวนไปเวียนมากระสับกระส่าย ยิ่งทำให้นอนไม่หลับไปกันใหญ่ แต่การกินยาให้นอนหลับก็จะมีผลดีตรงที่ บางตัวกินแล้วหลับแทบจะทันที หรือไม่ต้องเสียเวลารอนานก็สามารถหลับได้เหมือนตั้งเวลาปิดสวิตช์ประมาณนั้น

\"การกินยานอนหลับ\"

ผลเสียร่างกายจากการกินยานอนหลับ

หากการกินยามีแต่ผลดี ไม่มีผลเสียร่างกาย เชื่อเลยว่า สัดส่วนคนไทยที่ใช้ยานอนหลับจะต้องมากกว่านี้หลายเท่าตัว เพราะเป็นปัญหายอดฮิตที่เจอกันมากถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว แต่ด้วยความที่การใช้ยาอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายจึงทำให้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น จะมีผลเสียอะไรบ้าง มาดูกัน

1) ส่งผลถึงระบบประสาท

การกินยาให้นอนหลับ ก็คือการใช้ยากล่อมประสาทคลายกล้ามเนื้อและความกังวล ส่งผลดีให้หลับก็จริง แต่ถ้าไม่หลับก็อาจจะมีอาการเหมือนคนเมาหรือเบลอ พูดไม่รู้เรื่อง บางทีอาจเกิดอาการซึม คิดหรือเคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยมีแรง ล้า อ่อนเพลียง่ายขึ้น เป็นซึมเศร้า ไปจนถึงระบบประสาทได้รับความเสียหาย หากบริโภคไม่เหมาะสม ซึ่งผลเสียร่างกายก็เหมือนกับผู้ที่กินยากล่อมประสาททั่วไป

2) ดื้อยาและติดยา

ลองสังเกตจากผู้ที่ใช้ยานอนหลับที่ผ่านมา ทุกคนคงพอเห็นได้ว่า การใช้ยานอนหลับทำให้คนเสพติด และไม่สามารถนอนหลับเองตามธรรมชาติได้ มีแต่จะดื้อยา และ ต้องปรับจำนวนหรือตัวยาให้แรงยิ่งขึ้นไปอีก แน่นอนว่า ถ้ายาแรงมีแต่ผลดี ไม่มีผลเสียร่างกาย แพทย์คงไม่สั่งขนานเบาให้ตั้งแต่แรก

3) รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ถามว่า ผลเสียร่างกาย ในกรณีแย่สุดคืออะไร คำตอบคือ อาจถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับยาบางตัวที่รุนแรง ทานปริมาณมากเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์ช่วงที่รักษาด้วยการใช้ยานอนหลับ เนื่องจากเกิดการกดหายใจ

 

หากคุณกำลังพบกับปัญหานอนไม่หลับ Morning Sleep ขอแนะนำให้เริ่มปรับเปลี่ยนบางปัจจัยที่มีผลดีช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ดีขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การเลือกที่นอน ออกกำลังกาย พฤติกรรมบางอย่าง อาหารการกิน ฯลฯ โดยอาจพบแพทย์ เพื่อช่วยวางแผนให้คำแนะนำเพิ่มเติมก็ได้ ก่อนที่จะไปถึงขั้นรักษาด้วยการใช้ยานอนหลับจนอาจส่งผลเสียร่างกายอย่างที่ Morning Sleep ได้นำมาฝากในบทความนี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า