การเลือกซื้อที่นอนใหม่เป็นการตัดสินใจที่สำคัญ เนื่องจากที่นอนมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับและสุขภาพโดยรวม การเลือกที่นอนที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น ความนุ่ม-แข็งของที่นอน วัสดุที่ใช้ ความสามารถในการรองรับสรีระ รวมถึงปัญหาสุขภาพเฉพาะตัว เช่น ปวดหลัง หรือโรคภูมิแพ้ นอกจากนี้ ขนาดของที่นอนและการระบายอากาศที่ดี ยังเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะที่นอนที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณนอนหลับสบายตลอดคืนและตื่นมาพร้อมความสดชื่น
เลือกที่นอนอย่างไรดี?
1.ที่นอนโอบสรีระพอดี แต่ไม่จมที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง
การเลือกที่นอนเพื่อสุขภาพอย่างแรกที่ดีต่อสรีระ คือ ความโอบรับสรีระแต่ละส่วนแบบพอดี แต่ไม่จมที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เวลาที่เราทดลองนอนลงไปแล้วลองลุกขึ้น จะไม่รู้สึกว่าลุกยาก นอกการการทดลองนอนแล้วดูความโอบรับสรีระ อีกวิธีสังเกตคือการทดลองใช้มือกดลงไป หากมีการคืนตัวไวถือว่าดี แต่หากเป็นรอยจมลองไป และคืนตัวช้าก็มีโอกาสที่จะทำให้ปวดหลังระยะยาว
2. ที่นอนที่พลิกตัวระหว่างนอนหรือลุกนั่งได้ง่าย
ที่นอนเพื่อสุขภาพที่ดี เมื่อลองพลิกตัวหรือลุกนั่งแล้วไม่ต้องใช้แรงเยอะ ซึ่งก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากการเลือกที่นอนที่นอนแล้วไม่จม เพราะที่นอนที่พลิกตัวยากมีโอกาสที่จะทำให้ตื่นกลางดึกได้ง่าย อีกทั้งการใช้แรงในการพลิกตัวมากเกินไปก็อาจจะส่งผลให้คนที่นอนข้างๆ รู้สึกตัวเพราะแรงสั่นสะเทือนในระหว่างพลิกตัวอีกด้วย
3. ที่นอนที่ทำให้สรีระอยู่ในระนาบที่พอดี
ที่นอนเพื่อสุขภาพเมื่อเรานอนสรีระควรอยู่ในระนาบที่พอดี สามารถรองรับส่วนคอ หลังส่วนบน หลังส่วนล่าง สะโพก ได้โดยไม่จมเป็นแอ่งบริเวณจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป และลักษณะท่านอนที่ถูกต้องจะคล้ายกับสรีระเวลาที่เรายืน
4. ที่นอนเพื่อสุขภาพที่เหมาะกับสรีระร่างกาย
แต่ละคนต่างก็มีปัญหาการนอน หรือสรีระร่างกายที่ไม่เหมือนกัน การเลือกที่นอนเพื่อสุขภาพโดยให้ความสำคัญกับความต้องการของตัวเองจึงสำคัญที่สุด เพราะวัสดุของที่นอนแต่ละรุ่นหรือแต่ละยี่ห้อก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว อย่างเช่น ที่นอนที่มีความนุ่มพอดีสำหรับคนน้ำหนักตัวน้อย อาจจะกลายเป็นที่นอนที่มีความยวบเกินไปสำหรับคนน้ำหนักตัวมาก การไปทดลองนอนด้วยตัวเองจึงดีที่สุด
เทคนิคการนอนที่ถูกต้อง เพื่อป้องการอาการ “ปวดหลัง”
- การนอนในลักษณะท่านอนหงายการนอนในท่านอนหงาย เป็นหนึ่งในท่าเบสิกที่ดีต่อการช่วยป้องกันการปวดหลัง แต่วิธีการนอนหงายที่ถูกต้องและดีต่อสุขภาพหลัง คือ สรีระส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คอบ่า ไหล่หลัง และขา ต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งจำเป็นต้องเลือกหมอนหรือที่นอนที่ช่วยซัพพอร์ตสรีระได้ดี โดยอาจจะมีตัวช่วยเพิ่มเติมเพื่อให้สรีระอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยท่านอนหงายที่ทำให้ร่างกายอยู่ในระนาบเดียวกันคือ นอนราบหลังแนบสนิทกับที่นอน วางหัวบนหมอน และวางหมอนที่ไม่สูงจนเกินไปไว้ใต้เข่า หากรู้สึกว่ามีช่องว่างระหว่างหลังกับที่นอน ให้ใช้วิธีม้วนผ้าผืนเล็กเอาไว้ใต้หลัง เพียงแค่นี้ก็เป็นการจัดระเบียบการนอนหงายให้ดีต่อสรีระแล้ว
- การนอนในลักษณะท่านอนตะแคงคนที่ติดหมอนข้างจะต้องถูกใจท่านอนประเภทนี้ เพราะการนอนกอดหมอนข้างเป็นอะไรที่ฟินและเพิ่มความสบายในการนอนสุดๆ แต่การนอนตะแคงข้างก็มีวิธีการนอนเพื่อช่วยลดการปวดหลังเช่นกัน โดยวิธีการนอนตะแคงข้างที่ถูกต้องก็คือ การนอนโดยให้ไหล่และด้านข้างลำตัวแนบชิดไปบนที่นอน จากนั้นใช้หมอนวางสอดไว้ระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง ตรงช่วงเข่า จากนั้นงอเข่าขึ้นเล็กน้อยและหนีบไว้ โดยท่านอนตะแคงที่ดีคือการนอนตะแคงซ้าย เพราะจะช่วยให้ปอดและหัวใจทำงานได้ดี
- การนอนในลักษณะท่านอนคว่ำท่านอนในท่านี้เป็นลักษณะการนอนที่จะช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อได้ดี แต่หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นท่านอนที่ไม่ค่อนสบายตัวนัก เพราะทำให้หายใจไม่สะดวก ท่านอนแบบนี้สามารถนอนให้สบายขึ้นได้ด้วยการใช้หมอนมาหนุนระหว่างบริเวณท้องช่วงล่างและอุ้งเชิงกราน โดยอาจจะใช้เป็นท่านอนพัก หากนอนในท่าอื่นๆ แล้วไม่ถนัด